วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2554

หลักการทำงานและการแสดงผลของภาพคอมพิวเตอร์กราฟิก


         
            ภาพที่เกิดบนคอมพิวเตอร์  เกิดจาการทำงานของโหมดสี  RGB  ซึ่งประกอบไปด้วย  สีแดง  (Red)  สีเขียว  (Green)  สีน้ำเงิน  (Blue)  โดยใช้หลักการยิงประจุไฟฟ้าให้เกิดการเปล่งแสงของสีทั้ง  3  สีมาผสมกันทำให้เกิดเป็นจุดสีเหลี่ยมเล็กๆ ที่เรียกว่า  พิกเซล  (Pixel)  ซึ่งมาจากคำว่า  Picture  กับ  Element  โดยพิกเซลจะมีหลากหลายสี  เมื่อนำมาวางต่อกันจะเกิดเป็นรูปภาพ  ซึ่งภาพที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์จะมี  2  ประเภท  คือ  แบบ  Raster  แบบ  Vector

             กราฟิกแบบ  Raster  หรือแบบ Bitmap  เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการเรียงตัวกันของจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ หลากหลายสี  ซึ่งเรียกจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ นี้ว่า  พิกเซล  (Pixel)  ในการสร้างภาพกราฟิกแบบ  Raster  จะต้องกำหนดจำนวนพิกเซลให้กับภาพที่ต้องการสร้าง  ถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลน้อย เมื่อขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้นจะทำให้มองเห็นภาพเป็นจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ  หรือถ้าจำนวนพิกเซลมากก็จะทำให้แฟ้มภาพมีขนาดใหญ่  ดังนั้นการกำหนดจำนวนพิกเซลจึงควรกำหนดให้เหมาะกับงานที่สร้าง  คือ
      ☀ ถ้าต้องการใช้งานทั่วๆ ไป  จะกำหนดจำนวนพิกเซลประมาณ  100-150  ppi  (Pixel/inch)   “จำนวนพิกเซลต่อ  1  ตารางนิ้ว
      ☀ ถ้าเป็นงานที่ต้องการความละเอียดน้อย  และแฟ้มภาพมีขนาดเล็ก เช่น  ภาพสำหรับใช้กับเว็บไซต์จะกำหนดจำนวนพิกเซลประมาณ  72  ppi  (Pixel/inch)
      ☀ ถ้าเป็นงานพิมพ์  เช่น  นิตยสาร  โปสเตอร์ขนาดใหญ่  จำนวนพิกเซลประมาณ  300-350  ppi  (Pixel/inch)
                ข้อดี ของภาพกราฟิกแบบ
 Raster คือสามารถแก้ไขปรับแต่งสี  ตกแต่งภาพได้ง่ายและสวยงาม  ซึ่งโปรแกรมที่นิยมใช้สร้างภาพกราฟิกแบบ Raster คือ Adobe  PhotoshopCS , Paint
 


             กราฟิกแบบ Vector  เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์  หรือการคำนวณ  ซึ่งภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน  โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง  เส้นโค้ง  รูปทรง  เมื่อมีการขยายภาพความละเอียดของภาพไม่ลดลง  แฟ้มมีขนาดเล็กกว่าแบบ Raster  กราฟิกแบบ  Vector  นิยมใช้เพื่องานสถาปัตย์ตกแต่งภายในและการออกแบบต่างๆ เช่น  การออกแบบอาคาร  การออกแบบรถยนต์  การสร้างโลโก้  การสร้างการ์ตูน  เป็นต้น  โปรแกรมที่นิยมใช้สร้างภาพแบบ Vector  คือ โปรแกรม  Illustrator, CorelDraw,  AutoCAD, 3Ds mas เป็นต้น  แต่อุปกรณ์ที่ใช้แสดงผลภาพ  เช่น จอคอมพิวเตอร์หรือเครื่องพิมพ์จะเป็นการแสดงผลภาพเป็นแบบ Raster                                                                                                                                                                           
ความแตกต่างของกราฟิกแบบ 2 มิติ
   ภาพกราฟิก 2 มิติแบบ
Raster  และแบบ  Vector  มีความแตกต่างกันดังนี้
ภาพกราฟิกแบบ  Raster
ภาพกราฟิกแบบ  Vector
1.             ภาพกราฟิกเกิดจากจุดสีเหลี่ยมเล็กๆ  หลากหลายสี  (Pixels)  มาเรียงต่อกันจนกลายเป็นรูปภาพ
1.  ภาพเกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทางคณิตศาตร์หรือการคำนวณ  โดยองค์ประกอบของภาพมีอิสระต่อกัน
2. การขยายภาพกราฟิกให้มีขนาดใหญ่ขึ้นจะทำให้ความละเอียดของภาพลดลง  ทำให้มองเห็นภาพเป็นจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ
2.  การขยายภาพกราฟิกให้มีขนาดใหญ่ขึ้นภาพยังคงความละเอียดคมชัดเหมือนเดิม
3. การแต่งตั้งและแก้ไขภาพ  สามารถทำได้ง่ายและสวยงาม  เช่นการ  Retouching ภาพ
3.  เหมาะกับงานออกแบบต่างๆ
   4. การประมวลผลภาพสามารถทำได้รวดเร็ว
4.  การประมวลผลภาพใช้เวลานาน  เนื่องจากคำสั่งในการทำงานมาก

                                                     ตัวอย่างภาพกราฟิกแบบ 2 มิติ                                                
                                                               

                                                       ตัวอย่างภาพกราฟิกแบบ 3 มิติ
                                              

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น